วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559

พระบรมราโชวาทและหลักการทรงงาน
ระเบียบ   


คำว่า ระเบียบ  หมายถึงแบบแผนที่วางไว้เป็นแนวปฏิบัติหรือดำเนินการ เช่นระเบียบวินัย  ระเบียบข้อบังคับ ต้องปฏิบัติตามระเบียบ
วินัย
คำว่า  วินัย   หมายถึง ระเบียบหรือข้อบังคับ ข้อปฏิบัติ เช่น วินัยทหาร ทหารต้องยึดมั่นในวินัย
ระเบียบและวินัยเป็นคำที่มักจะนำมาใช้คู่กันเป็น ระเบียบวินัย
ผู้ที่มีระเบียบวินัย คือ ผู้ที่ปฏิบัติตามแบบแผนที่วางไว้เป็นแนวปฏิบัติหรือดำเนินการ เช่น ข้อตกลง กติกา กฏของโรงเรียนหรือที่ทำงาน


หากทุกคนมีระเบียบวินัยในสังคม บ้านเมืองเราก็จะสงบสุขและมีระเบียบ
พระบรมราโชวาท
หมายถึง โอวาทหรือคำสอนของพระเจ้าแผ่นดิน ที่พระราชทานแก่บุคคลหรือกลุ่มคนเช่น กลุ่มเกษตรกร    ข้าราชการเข้าเฝ้าถวายพระพร
พระบรมราโชวาทอาจจะตรัสเป็นคำพูดแล้วมีผู้นำมาตีพิมพ์เผยแพร่อีกทอดหนึ่ง ซึ่งพระบรมราโชวาททีนำเสนอ จะเกี่ยวกับการมีระเบียบวินัยและความสามัคคี

ตัวอย่าง พระบรมราโชวาท การมีระเบียบ
 “… คนทำงานดีคือคนมีระเบียบ  ได้แก่ระเบียบในการคิดและในการทำ ผู้ไม่ฝึกระเบียบไว้   ถึงจะมีวิชามีเรี่ยวแรง   มีความกระตือรือร้นอยู่เพียงไรก็มักทำงานสำเร็จดีไม่ได้   เพราะความคิดอ่านสับสนว้าวุ่น  ทำอะไรก็ไม่ถูกลำดับขั้นตอน มีแต่ความลังเลและขัดแย้งทั้งในความคิด    ทั้งในการปฏิบัติงาน  …”

"...การมีวินัย มีความสามัคคี และรู้จักหน้าที่ ถือกันว่าเป็นคุณสมบัติสำคัญประจำตัวของคนทุกคน แต่ในการสร้างเสริมคุณสมบัติ 3 ข้อนี้ จะต้องไม่ลืมว่า วินัย สามัคคี และหน้าที่นั้น เป็นได้ทั้งในทางบวกและทางลบ ซึ่งย่อมให้คุณหรือโห้โทษได้มากเท่าไห กันทั้ง 2 ทาง เพราะฉะนั้น เมื่อจะอบรม จำเป็นต้องพิจารณาให้ถ่องแท้แน่ชัดก่อนว่า เป็นวินัย สามัคคี และหน้าที่ดี คือ ปราศจากโทษ เป็นประโยชน์ เป็นธรรม...”

"...วินัยแท้จริงมีอยู่สองอย่าง อย่างหนึ่งคือวินัยตามที่ทราบกันและถือกัน อันได้แก่ข้อปฏิบัติที่บัญญัติไว้เป็นกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับต่างๆ ให้ถือปฏิบัติอีกอย่างหนึ่งคือวินัยในตนเองที่แต่ละคนจะต้องบัญญัติขึ้น สำหรับควบคุมบังคับให้มีความจริงใจนั้นอย่างมั่นคง มีลักษณะเป็นสัจจาวาอธิษฐานหรือการตั้งสัตย์สัญญาให้แก่ตัว วินัยอย่างนี้จัดเป็นวินัยแท้ เพราะให้ผลจริงและแน่นอนยิ่งกว่าวินัยที่เป็นบทบัญญัติ...
"...วินัยนั้นเมื่อนำมาฝึกหัดปฏิบัติ จะเป็นดังข้อบังคับที่ควบคุมบุคเต็มหน่วย...
"...คนทำงานดีคือคนที่มีระเบียบ ได้แก่ระเบียบในการคิดและการทำ ผู้ไม่ฝึกระเบียบไว้ ถึงจะมีวิชา มีเรี่ยวแรง มีความกระตือรือร้นอยู่เพียงไร ก็มักทำงานให้สำเร็จดีไม่ได้ เพราะความคิดอ่านสับสนว้าวุ่น ทำอะไรก็ไม่ถูกลำดับขั้นตอน มีทั้งความลังเลและขัดแย้งทั้งในความคิด ทั้งในการปฏิบัติงาน...

ความสามัคคี
คำว่า สามัคคี หมายถึง ความพร้อมเพรียง ความปรองดองกันและความร่วมมือร่วมใจกัน ความสามัคคีเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ 
ความสามัคคีเป็นการทำงานเพื่อส่วนรวม ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน หากทุกคนในสังคมมีความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ประเทศชาติก็จะมีความมั่นคงและสงบสุข ดังนั้นจึงเป็นคุณลักษณะสำคัญที่ควรปลูกฝังให้เกิดขึ้นกับคนไทย

พระบรมราโชวาท ความสามัคคี
           "...ความสามัคคีนี้ หมายถึงว่ามีสิ่งใดที่อาจ ขัดแย้งซึ่งกัน และกันบ้าง ก็ต้องปรองดองกันเสีย และหา ทางออกโดยที่ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง กันเพราะความสามัคคีเป็นกำลังอย่างสูงสุดของ หมู่ชน..."

  "...ชาติของเรารักษาเอกราชอธิปไตยมาได้จนถึงทุก วันนี้ด้วยความสามัคคี ผู้ใดเดือดร้อนก็ได้รับการ บรรเทาความเดือดร้อนนี่เป็นหลักสำคัญของการปกครอง ประเทศไทยมาแต่โบราณกาล..."

          "...ประเทศไทยถ้าประชาชนพลเมือง มีความสามัคคีกลมเกลียว กันดี มีระเบียบวินัย ประเทศนั้นก็เจริญและอยู่ ในฐานะดีจึงเห็น ได้ว่าความสามัคคีกลมเกลียวกันระหว่างคนในชาติ และ ความเข้าใจรักษาระเบียบวินัยเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่ง ที่จะช่วยนะประเทศชาติสู่ความวัฒนาถาวร..."
         
 "...สามัคคี คือการเห็น แก่บ้านเมืองและช่วยกันทุก วิถีทางเพื่อที่จะสร้างบ้านเมืองให้เข้มแข็ง ด้วย การเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตอย่างตรงไปตรงมา นึกถึงประโยชน์ส่วนรวม เพราะประโยชน์ส่วนรวม นั้น คือความมั่นคงของบ้านเมือง..."

          "...เมืองไทยนี้อยู่ได้ด้วยความสามัคคี ด้วยความเข้ม แข็ง ด้วยความเสียสละ อาศัยความเห็นอกเห็นใจ ซึ่งกันและกัน และถ้ารักษาความ เห็นอกเห็นใจนี้แล้ว ประเทศชาติของเราก็จะ เป็นที่อาศัยที่อุดมสมบูรณ์และน่าสบายต่อไปชั่ว กลานาน..."

"...ประเทศของเราต้องประสบกับวิกฤตการณ์ด้านต่างๆ ติดต่อกันมาเป็นเวลาหลายปี แต่ด้วยความรู้เท่าทันและความร่วมมือร่วมใจของคนไทยทุกคน ที่ช่วยกันประคับประคองแก้ไข บ้านเมืองของเราจึงยังมั่นคงเป็นปรกติอยู่ ใครจะไปไหนมาไหนก็ยังทำได้สะดวก การทำมาหากินก็ยังไม่ถึงกับฝืดเคีองนัก ทำให้มั่นใจได้ว่าหากจะมีอุปสรรค ปัญหา หรือเหตุไม่ปรกติใดๆ เกิดขึ้นคนไทยเราจะร่วมกันคิดอ่าน และช่วยกันปฏิบัติ แก้ไขให้ทุกสิ่งทุกอย่างคลี่คลายลุล่วงไปได้อย่างแน่นอน..."

          "...บ้านเมืองไทยสามารถฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ได้โดยดี เพราะว่าจิตใจสามัคคีและแสดงออกซึ่งสามัคคี ถ้าตราบใด เรารักษาความสามัคคีความเห็นอกเห็นใจซึ่งกัน และกันไว้ได้ เราก็จะอยู่ได้อย่างมีความสุข สุดตราบนั้น..."
 "...ในขวบปีที่ล่วงมา ได้มีเหตุการณ์ต่างๆ อันมีความสำคัญแก่ชาติบ้านเมือง ดังที่ได้ทราบกันอยู่แล้วนับได้ว่าประชาชาติของเราได้ผ่านหัวเลี้ยวสำคัญขั้นหนึ่งแล้ว ต่อไปนี้ จึงเป็นหน้าที่เราทั้งปวงที่จะต้องช่วยกันประคับประคองให้กิจการงานของชาติบ้านเมืองดำเนินไปด้วยดี เพื่อความเจริญผาสุกของประเทศชาติ ในการนี้ความสามัคคีประนีประนอมซึ่งกันและกันเป็นสิ่งจำเป็นและพึงปรารถนายิ่งนัก ข้าพเจ้าจึงขอแสดงความหวังว่าชาวไทยทุกๆ คนจะพยายามรักษาความสามัคคี

          "...ความสามัคคีนี้ เป็นคุณธรรมสำคัญประการหนึ่ง ซึ่งหมู่ชน อยู่รวมกันจำเป็นต้องมี ด้องถนอมรักษา และ ต้องนำมาใช้อยู่สม่ำเสมอ ถ้าแต่ละฝ่ายเข้ามาร่วมกันทำงานด้วยความ ดั้งใจดี ด้วยความสามัคคี ความรู้ความสามารถ ด้วยความคิดที่สร้างสรรค์ งานก็สำเร็จสมบูรณ์งด งามตามประสงค์ทุกอย่าง..."



ความหมายหลักการทรงงาน
หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นการดำเนินงานในลักษณะทางสายกลางที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของสังคมไทยและสามารถปฏิบัติได้จริง  โดยหลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีความหลากหลายถึง ๒๓ หลักการ ซึ่งคนไทยสามารถน้อมนำไปปฏิบิในโอกาสต่างๆได้ตามความเหมาะสมเช่น..

๒๓ หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
. ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ
ศึกษาข้อมูล รายละเอียดอย่างเป็นระบบ ทั้งข้อมูลเบื้องต้นจากเอกสาร แผนที่ สอบถามจากเจ้าหน้าที่ นักวิชาการ และราษฎรในพื้นที่ ให้ได้รายละเอียดที่ถูกต้อง

๒. ระเบิดจากข้างใน



สร้างความเข้มแข็งให้คนในชุมชนที่จะเข้าไปพัฒนา ให้มีสภาพพร้อมที่จะรับการพัฒนาเสียก่อน

๓. แก้ปัญหาจากจุดเล็ก
มองปัญหาในภาพรวม แต่การแก้ปัญหาจะเริ่มจากจุดเล็กๆคือการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่คนมักจะมองข้าม

๔. ทำตามลำดับขั้น
การพัฒนาให้เริ่มต้นจากสิ่งที่จำเป็นที่สุดของประชาชนก่อน ได้แก่ สาธารณสุข ต่อไปจึงเป็นเรื่องสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และสิ่งจำเป็นสำหรับประกอบอาชีพ

๕. ภูมิสังคม



การพัฒนาใดๆ ต้องคำนึงถึงภูมิประเทศของบริเวณนั้น เช่น ดิน, น้ำ, ป่า, เขา ฯลฯ และสังคมวิทยา เช่น นิสัยใจคอของผู้คน ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น

๖. องค์รวม
คิดอย่างองค์รวม หรือมองอย่างครบวงจร มองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและแนวทางแก้ไขอย่างเชื่อมโยง 
๗. ไม่ติดตำรา
การทำงานมีลักษณะที่อนุโลม รอมชอมกับสภาพธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม สภาพสังคม จิตวิทยาของชุมชน ไม่ผูกมัดกับวิชาการและเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย
๘. ประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด


แก้ไขปัญหาด้วยความประหยัด เรียบง่าย ราษฎรสามารถทำได้เอง หาได้ในท้องถิ่น และประยุกต์ใช้สิ่งที่มีอยู่ในภูมิภาคนั้นๆ
๙. ทำให้ง่าย
ทำสิ่งยากให้กลายเป็นง่าย ทำสิ่งที่สลับซับซ้อนให้เข้าใจง่าย

๑๐. การมีส่วนร่วม
เปิดโอกาสให้สาธารณชน ประชาชน หรือเจ้าหน้าที่ทุกระดับ ได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่องที่ต้องคำนึงถึงความคิดเห็นของประชาชน หรือความต้องการของสาธารณชน


๑๑. ประโยชน์ส่วนรวม
การให้เพื่อส่วนรวมนั้น ไม่ได้ให้เพื่อส่วนรวมอย่างเดียว แต่เป็นการให้เพื่อตนเอง สามารถมีส่วนรวมหรือสังคมที่จะอาศัยอยู่ได้





๑๒. บริการที่จุดเดียว
ศูนย์ศึกษาการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นต้นแบบการบริหารรวมที่จุดเดียว เพื่อประชาชนที่จะมาใช้บริการ ได้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย โดยมีหน่วยงานส่วนราชการต่างๆ มาร่วมดำเนินการและให้บริการ ณ ที่แห่งเดียว

๑๓. ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ
หากเราต้องการแก้ไขธรรมชาติจะต้องใช้ธรรมชาติเข้าช่วยเหลือ เช่น การแก้ปัญหาป่าเสื่อมโทรม พระราชทานพระราชดำริการปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก(ต้นไม้) ปล่อยให้ธรรมชาติช่วยฟื้นฟูธรรมชาติ

๑๔. ใช้อธรรมปราบอธรรม
นำกฎเกณฑ์ของธรรมชาติมาเป็นหลักและแนวปฏิบัติที่สำคัญในการแก้ปัญหาและปรับปรุงสภาวะที่ไม่ปกติให้เข้าสู่ระบบที่เป็นปกติ เช่น การใช้ผักตบชวาบำบัดน้ำเสียโดยดูดซึมสิ่งสกปรกปนเปื้อนในน้ำ

๑๕. ทำงานอย่างมีความสุข
ทำงานโดยคำนึงถึงความสุขที่เกิดจากการได้ทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น

๑๖. ปลูกป่าในใจคน


การที่จะพื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้กลับคืนมา จะต้องปลูกจิตสำนึกให้คนรักป่าเสียก่อน แล้วคนเหล่านั้นก็จะปลูกต้นไม้ลงบนแผ่นดิน และรักษาต้นไม้ด้วยตนเอง

๑๗. ขาดทุนคือกำไร
การเสียคือการให้ หลักการคือ "การให้" และ "การเสียสละ" เป็นการกระทำอันมีผลเป็นกำไร คือ ความอยู่ดีมีสุขของราษฎร

๑๘. พออยู่พอกิน
ให้ความช่วยเหลือประชาชนที่มีความยากลำบากให้สามารถอยู่ได้อย่าง "พออยู่พอกิน" เสียก่อนแล้วจึงค่อยขยับขยายให้มีขีดสมรรถนะที่ก้าวหน้าต่อไป

๑๙. การพึ่งตนเอง


การพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาเบื้องต้นด้วยการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อให้ประชาชนแข็งแรงพอที่จะดำรงชีวิตได้ต่อไป ขั้นต่อไปก็คือ การพัฒนาให้ประชาชนสามารถอยู่ในสังคมได้ตามสภาพแวดล้อม และสามารถ "พึ่งตนเองได้" ในที่สุด

๒๐. เศรษฐกิจพอเพียง


เป็นแนวทางการดำเนินชีวิต เพื่อสร้างความเข็มแข็งหรือภูมิคุ้มกันทุกด้านซึ่งจะสามารถอยู่ได้อย่างสมดุล ในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง ปรัชญานี้สามารถประยุกต์ใช้ทั้งระดับบุคคล องค์กร ชุมชน

๒๑. ความซื่อสัตย์ สุจริต จริงใจต่อกัน
ผู้ที่มีความสุจริตและบริสุทธ์ใจ แม้จะมีความรู้น้อย ก็ย่อมทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้มากกว่าผู้ที่มีความรู้มาก แต่ไม่มีความสุจริต ไม่มีความบริสุทธ์ใจ

๒๒. ความเพียร
จากตัวอย่างบทพระราชนิพนธ์พระมหาชนก พระมหาชนกเพียรว่ายน้ำอยู่ ๗ วัน ๗ คืน แม้จะมองไม่เห็นฝั่งแต่ยังคงว่ายต่อไป ไม่จมลง จนกลายเป็นอาหารของปลา และได้รับความช่วยเหลือจนถึงฝั่งได้ในที่สุด
         ๒๓. รู้-รัก-สามัคคี
  •       รู้ : การที่เราจะลงมือทำสิ่งใดนั้น จะต้องรู้เสียก่อน รู้ถึงปัจจัยทั้งหมด รู้ถึงปัญหา และรู้ถึงวิธีแก้ปัญหา
  •       รัก : เมื่อเรารู้ครบด้วยกระบวนการแล้ว จะต้องเห็นคุณค่า เกิดศรัทธา เกิดความรักที่จะเข้าไปลงมือปฏิบัติแก้ปัญหานั้นๆ

  • สามัคคี : เมื่อถึงขั้นลงมือปฏิบัติต้องคำนึงเสมอว่าเราทำคนเดียวไม่ได้ ต้องร่วมมือร่วมใจกัน สามัคคีกันเป็นหมู่คณะ จึงจะเกิดพลังในการแก้ปัญหาให้ลุล่วงด้วย